วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศัพท์และความหมายที่เกี่ยวกับ ระบบ Bus(20 ศัพท์)

1.PRIVATE BUS หมายถึง บัสที่ใช้เป็นการส่วนตัว

2.SINGLE BOARD MACHINE หมายถึง BOARD เปล่าๆ ซึ่งมี SLOTเพิ่มขยายให้จำนวนหนึ่ง

3. ALTAIR หมายถึง PC (PERSONAL COMPUTER) เครื่องแรกก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นผลงานของED ROBERTS

4.Source หมายถึง ต้นทางของการส่งข้อมูล

5.Distination หมายถึง ปลายทางของการส่งข้อมูล

6.Memory หมายถึง หน่วยความจำ

7.Onboard หมายถึง การรวมเอาหน่วยประมวลผลด้าน Graphics และส่วนควบคุมหน่วยความจำของ Graphics เข้าไว้บน Mainboard

8.Control BUS หมายถึง บัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากตัวซีพียูโดยบัสควบคุม เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไป จากตัวซีพียู

9.Address BUS หมายถึง  บัสที่ตัวซีพียู เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใดโดยจะต้องส่งสัญญาณเลือกออกมาทางแอดเดรสบัส

10.Data BUS หมายถึง บัสที่ไมโครโพรเซสเซอร์ (ซีพียู) ใช้เป็นเส้นทางผ่านในการควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากตัวซีพียูไปยังอุปกรณ์ภายนอกหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก เพื่อทำการประมวลผลที่ซีพียู

11.Computer Network หมายถึง เครือข่ายของคอมพิวเตอร์

12.Host Bus หมายถึง ตัวควบคุมการสื่อสาร การส่งถ่ายข้อมูล และควบคุมการทรานแอกชั่นข้อมูล

13.Address หมาถึง ที่อยู่

14.Network หมายถึง เครือข่าย

15.Generation หมายถึง ศตวรรษ

16.Controller หมายถึง ผู้ควบคุม

17.Data หมายถึง ข้อมูล

18.System หมายถึง ระบบ

19.FSB {Front Side Bus} หมายถึง สิ่งที่ถูกบัญญัติไว้เพื่อใช้ก็ได้รับรองความเร็วในการทำงาน CPU กับ
RAM โดยตรง

20.MAC (Media Access Commenter) หมายถึง อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ “แยกสัญญาณ”หรือ “พวงสัญญาณ”

อุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในระบบ Bus

1.บัสและซ็อคเก็ตของซีพียู
front
2.สล็อตของอุปกรณ์ความเร็วสูง
pci
3.BIOS (Basic Input/Output System)
bios
4.ขั้วต่อและพอร์ตต่างๆ
port

ที่มา: http://www.pccpl.ac.th/~tech/images/port.jpg

ระบบ Bus ทำงานได้อย่างไรในคอมพิวเตอร์

  • คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลและเก็บข้อมูลเป็นชุดของบิท (มีค่า 0 กับ 1) นั้น ชุดของบิทจะถูกส่งไปในวงจรไฟฟ้าตามช่องทางต่างๆ ซึ่งแต่ละช่องทางนั้น เราเรียกว่า บัส ซึ่งเป็นเส้นทางที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งภายนอก ภายใน สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ คล้ายกับเป็นถนนให้รถวิ่งจากจุดหนึ่งไปยังเป้าหมายได้ นั่นก็คือ บิทวิ่งไปตามบัสนั่นเอง บัสจะส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับเข้าไปยังหน่วยความจำ จากห่วยความจำไปยังหน่วยประมวลผล จากหย่วนประมวลผลไปยังหน่วยความจำ และจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์ส่งออก หรือ หน่วยความจำสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์
    บัสประกอบด้วย 2 ส่วน คือ บัสข้อมูลและบัสที่อยู่ บัสข้อมูลจะส่งข้อมูลจริงๆ ส่วนบัสที่อยู่จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ข้อมูลควรจะอยู่ในหน่วยความจำ
    • ขนาดของบัส สามารถวัดได้เป็นความกว้างบัส ซึ่งเป็นตัวระบุจำนวนบิทที่คอมพิวเตอร์สามารถส่งได้ในแต่ละครั้ง เช่น บัสที่มีขนาด 32 บิท (32-bit bus) จะสามารถส่งข้อมูลได้ 32 บิท หรือ 4 ไบท์ในแต่ละครั้ง ถ้าเราต้องการส่งข้อมูล 8 บิท โดยใช้บัสขนาดนี้ ก็จะต้องแบ่งส่ง 2 ครั้งด้วยกัน แต่ถ้าเราใช้บัสที่มีขนาด 64 บิท ก็จะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งหมดภายในครั้งเดียว
    • บัสจะมีสัญญาณนาฬิกาเช่นเดียวกับหน่วยประมวลผล ซึ่งผู้ผลิตกำหนดให้ีสัญญาณนาฬิกามีความถี่เป็นเฮิร์ต (hertz หรือ Hz) คำว่าเมกะเฮิร์ต (MHz) คือสัญญาณนาฬิกา (ติ๊ก) 1 ล้านครั้งใน 1 วินาที ในปัจจุบันส่วนใหญ่ หน่วยประมวลจะมีสัญญาณนาฬิกา ประมาณ 400, 533, 800 MHz ยิ่งค่าสัญญาณนาฬิกาสูงเท่าไหร่ ความเร็วในการส่งข็อมูลก็มากเท่านั้น
คอมพิวเตอร์มีบัสอยู่ 2 ชนิดคือ บัสระบบ (system bus) และ บัสเสริม (expansion bus)
  • บัสระบบ (system bus) เป็นส่วนหนึ่งเมนบอร์ด หรือแผงวงจรหลัก บัสระบบทำหน้าที่เป็นเส้นทางต่อระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำ ส่วนบัสเสริมเป็นบัสที่ทำให้หน่วยประมวลสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ได้ ส่วนใหญ่ที่มีการอ้างถึง บัส เฉยๆ จะหมายถึง บัสระบบ
  • บัสเสริม (expansion bus) จะทำให้อุปกรณ์ภายนอกระบบสามารถติดต่อกับหน่วยประมวลผลได้ อุปกรณ์ต่อพ่วงจะต่อเข้ากับพอร์ต ซึ่งพอร์ตจะต่ออยู่บน ช่องเสริม (expansion slot) ซึ่งช่องเสริมนี้จะต่อกับ บัสเสริมเพื่อส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล รูปข้างล่างนี้เป็นรูปของการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ผ่านทางบัสระบบ และบัสเสริม บัสเสริมบนเมนบอร์ดมีหลายชนิด แต่ละชนิดบ่งบอกถึงชนิดของการ์ดที่ต่างๆ ที่ต่ออย่บนคอมพิวเตอร์ ได้แก่ บัส ISA, บัส PCI, บัส AGP, บัส USB และบัสไฟร์ไวร์
  • บัสท้องถิ่น (local bus) เป็นบัสเสริมที่มีความเร็วสูง จะต่อกับอุปกรณ์ที่มีการทำงานเร็วๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ บัสท้องถิ่นที่ควรรู้จักได้แก่ VESA local bus (Video Electronics Standards Association local bus) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับการ์ดวิดีโอเท่านั้น และบัส PCI เป็นบัสที่ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลายกว่า VESA lacal bus มาก และมีความเร็วในการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของบัส ISA

วิวัฒนาการและเทคโนโลยีระบบ Bus

   บัส เป็นเส้นทางเดินไฟฟ้าระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ บัสที่ธรรมดที่สุดคือ บัสของระบบ (System Bus) ซึ่งมีอยู่ในไมโครคอมพิวเตอร์ทุก ๆ ตัว ซึ่งประกอบไปด้วยลายลวดทองแดงประมาณ 50 ถึง 100 เส้น แล้วแต่ว่าจะเป็นชนิดของบัสอะไร
โครงสร้างของบัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เป็นผลทั้งจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีและจากมาตรฐานดั้งเดิมที่ใช้กันมาในเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ จึงขออธิบายตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันได้ดังนี้
  • XT BUS
เป็นระบบบัสระบบแรกของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับซีพียู 8088 สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เพียง 8 บิตเท่านั้น ความเร็วในการทำงานประมาณ 4.77 – 8 MHz XT BUS สนับสนุนการอินเตอร์เฟชกับแอดเดรส 20 บิต ซึ่งสามารถที่อ้างถึงหน่วยความจำได้เพียง 1 MB เท่านั้น มี บัสข้อมูลอยู่ 8 เส้น สนับสนุนการอินเตอร์รัปต์ 6 ช่อง ภายใน XT BUS จะมีขาอยู่ 62 ขา

  • AT BUS (ISA BUS)
ในยุคแรกของเครื่องพีซีนั้น ซีพียู 8088 จะทำงานที่ 4.77 MHz ส่วน 80286 ก็จะทำงานที่ 6 MHz ถึง 8 MHz เท่านั้น ซึ่งความเร็วในการำทงานของระบบบัสในยุคนั้นจะเป็นไปตามความเร็วของซีพียู จึงเพียงพอที่จะรองรับการส่งผ่านข้อมูลได้อย่างสบาย แต่เนื่องจาก 80286 เป็นซีพียูขนาด 16 บิต ซึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทั้ง 8 บิต และ 16 บิต ISA BUS จะสนับสนุนการอินเตอร์เฟชแอดเดรส 24 เส้น ทำให้สามารถจะอ้างอิงหน่วยความจำได้สูงถึง 16 MB จะเห็นว่าสูงกว่า XT BUS มาก ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80386 กับระบบ ISA BUS จะสาม ารถทำงานด้วยความเร็วประมาณ 20 ถึง 50 MHz เพราะระบบ ISA BUS เป็นแบบ 16 บิต ทำให้การส่งผ่านข้อมูล ของ 80386 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 32 บิต มีข้อจำกัดในการส่งข้อมูล ISA BUS สนับสนุนอินเตอร์รัปต์ 11 ช่อง การกระทำ DMA 7 ช่อง สัญญาณเลือกใช้หน่วยความจำแบบ 8 หรือ 1 6 บิต ระบบ ISA BUS มีจำนวนขาอยู่ 98 ขา
ISA มาจากคำว่า Industry Standard Architecture

  • MCA BUS (Micro Channel Architecture BUS)

  • EISA BUS (Extended Industry Standard Architecture Bus)
เป็นระบบบัสซึ่งถูกพัฒนาขึ้นจากกลุ่ม The Gang of Nine ประกอบไปด้วยบริษัทต่าง ๆ เช่น AST,Compaq,NEC เป็นต้น เพื่อออกแบบมาแข่งกับ MCA BUS ระบบบัส EISA เป็นแบบ 32 บิต ซึ่งยังมีความเข้ากันได้กับ ISA BUS เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80386,80486 สามารถใช้ EISA BUS ได้อย่างเต็มที่ EISA มีหลัการทำงานแบบขนาน โดยจะให้การ์ดควบคุมต่าง ๆ ทำงานอย่างเป็นอิสระจากตัวซีพียู ทำให้ซีพียูไม่ต้องมาคอยตรวจสอบการทำงานของการ์ด EISA จะส่งผ่านข้อมูลแบบเบริสต์ (Burst Transfer) เช่นเดียวกับ MCA ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ด้ว ยความเร็ว 33 MHz
EISA BUS เป็นบัสขนาด 32 บิต มีการทำงานแบบ BUS Master และ BURST Mode ซึ่งเหมาะสำหรับซีพียู 80386 และ 80486 ในการทำงานปกตินั้นเมื่อมีการขอทำ DMA จะทำให้ชิปควบคุมระบบบัสในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าหน่วยความแรมกับดิสก์ไดร์ ทำให้ซีพียูอยู่ในสภาวะไม่ทำงาน (Id le) แต่ในการทำงานแบบ BUS Master นั้จะใช้ซีพียูทำงานร่วมกัน 2 ตัว คือ ซีพียูของระบบก็จะทำงานตามปกติ ส่วนซีพียูของการ์ดควบคุมฟลอปปี้ดิสก์ก็จะทำงการส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำกับดิสก์ไดร์ ชีพียูที่อยู่บนการ์ดควบคุมฟลอปปี้ดิสก์ได์จะใช้เบอร์ 80186 หรือ 80 286 เป็นส่วนมาก สำหรับการทำงานแบบ BURST Mode นั้นซีพียูของระบบสามารถจะส่งผ่านข้อมูลได้จำนวนมากถึง 33 MB/วินาที
VL BUS (VESA LOCAL BUS)
จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของไมโครโปรเซสเซอร์เข้าสู่ยุค 32 – 64 บิต ทำให้ระบบบัสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ISA EISA และ MCA เป็นข้อจำกัดทางด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของตัวไมโครโปรเซสเซอร์ VL BUS จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด VL BUS เป็นระบบบัสที่พัฒนาขึ้น จากสมาคมผู้ผลิตชิปและการ์ดแสดงผลเรียกว่า VESA (Video Electronics Standard Association) เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล 80486DX และ Pentium VL BUS เป็นระบบบัสที่เพื่อประสิทธิภาพด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยค วามเร็วเท่ากับสัญญาณนาฬิกาของตัวโปรเซสเซอร์ ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทีละ 32 บิต มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลต่อหน่วย ประมาณ 132 MB/วินาที ทำงานด้วยความเร็วตั้งแต่ 16 – 66 MHz
  • PCI BUS
PCI มาจากคำว่า Peripheral Component Interconnection เป็น Local Bus ชนิดหนึ่ง คำว่า Local Bus หมายถึงระบบบัสที่มีเส้นสายสัญญที่เชื่อมต่อกันโดยตรงระหว่างบัสของโปรเซสเซอร์กับ Local Bus ดังนี้อัตราความเร็วรวาททั้งขนาดของบิตข้อมูลจึงเท่ากับโปรเซสเซอร์ อย ่างไรก็ดี PCI Bus ไม่ได้เชื่อมต่อโดยตรงกับบัสของโปรเซสเซอร์เหมือนกันกับ Local Bus ระบบอื่น เช่น VESA Bus แต่เชื่อมต่อผ่านชุดของ PCI Chip Set ซึ่งก็มีข้อดีคือ ไม่ดึงกระแสไฟจากเส้นสัญญาของโปรเซสเซอร์บัส ทำให้สามารถมีจำนวนของ PCI Slot ได้มากกว่า VESA Local Bus ส่วนขนาดของบิตข้อมูลที่ใช้สื่อสารกันระหว่าง PCI I/O การ์ด กับโปรเซสเซอร์จะมีขนาด 32 บิต ซึ่งจะลดปัญหาคอขวดในส่วนนี้ลงได้ แต่ก็ยังพบปัญหาคอขวดอยู่บ้างนั้นคือเรื่องของความเร็วการทำงานที่ 33.3 MHz
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลลน PCI BUS เราสามารถคำนวณออกมาได้ดังนี้
33 MHz x 32 Bit = 1,056 Mbit/sec
1,056 Mbit/sec หารด้วย 8 = 132 Mb/sec
หากเป็นระบบ PCI ขนาด 64 บิต เราจะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือประมาณ 264 MB/sec จึงเหมาะสำหรับงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกราฟิกและระบบ Multimedia คุณลักษณะที่สำคัญของ PCI Bus มีดังนี้
  1. มีอัตราความเร็ว 2 แบบ คือ
    (1) มาตรฐาน 2.0 ทำงานที่ความเร็ว 30 – 33 MHz
    (2) มาตรฐาน 2.1 ทำงานที่ความเร็ว 66 MHz
ปัจจุบันเมนบอร์ดทั่วไปใช้มาตรฐาน PCI 2.2 ที่สามารถติดตั้งถึง 5 Slot และสามารถรองรับการทำงานของ PCI การ์ดแบบ Bus Master เช่น SCSI หรือ Lan การ์ด เป็นต้น (Bus Master เป็นระบบส่งเสริมการถ่ายเทข้อมูลความเร็วสูงโดยไม่ใช้ระบบ DMA บนเมนบอร์ด ซึ่งก็หมายค วามว่าภายใต้การสื่อสารข้อมูลด้วยระบบ Bus Master นี้ โปรเซสเซอร์ยังสามารถทำงานติดต่อกับโลกภายนอก เช่น แคช ได้)
  1. สามารถถ่ายเทข้อมูลในรูปแบบของ Burst Mode ที่ไม่มีรูปแบบที่จำกัดตายตัว คำว่า Burst Mode หมายถึง รูปแบบการขนส่งข้อมูล ลักษณะเป็นกลุ่มที่พรั่งพรูออกมาอย่างต่อเนื่องจำนวนหนึ่ง คำว่าไม่มีรูปแบบ จำกัดตายตัวหมายถึง ขนาดของข้อมูลที่ส่งถ่ายกันมีขนาดไม่แน่นอน และการถ่ายเทข้อมูลแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องทุกรอบของจังหวะสัญญาณนาฬิกา (Clock Cycle)
  2. PCI Bus มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ใช้แรงดันไฟ +3.3v(32 Bit PC) และ +5v สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ CPU แบบ RISC เช่น Alpha
  3. ใช้เทคนิคทำงานแบบ Multiplex สำหรับ Address หรือ Data เพื่อลดขนาดจำนวนของขาสัญญาณบน PCI Slot
  4. เป็นระบบ Plug and Play หมายความว่ามีระบบการจัดตั้งค่า Configuration ในทางฮาร์ดแวร์โดยอัตโนมัติทำให้อุปกรณ์ PCI ไม่จำเป็นต้องมี Jumper หรือ สวิตช์เล็ก ๆ เพื่อตั้งค่าหลบหลีกการแย่งใช้อินเตอร์รัปต์ระหว่างกัน
  5. มีระบบ Write Posting และ Read Prefetching
    (1) ระบบ Write Posting หมายถึง การเตรียมเขียนข้อมูลคำสั่งไว้ล่วงหน้า รวมทั้งการเตรียมการอ่านข้อมูลคำสั่งล่วงหน้า เป็นการประหยัดเวลาที่ใช้เพื่อเตรียมการอ่าน/เขียนคำสั่งต่อไป
    (2) ระบบ Read Prefetching
  6. สามารถจัดตั้ง Configuration ได้ในทางซอฟต์แวร์ซึ่งก็คือ การจัดตั้งแผ่น BIOS Setup
  7. เป็นระบบบัส ที่ไม่ขึ้นกับโปรเซสเซอร์
  8. สามารถทำงานแบบ Concurrent BUS PCI ได้ หมายถึง PCI Card ที่ติดตั้งตาม Slot ต่าง ๆ สามารถทำงานพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งผิดกับระบบบัสแบบเก่า ๆ มีเพียงการ์ดหนึ่งเดียว ทำงานได้ในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้ ระบบ PCI BUS จึงเหมาะสำหรับงานประเภท Multimedia โดย เฉพาะ Video Confrerence
  9. ระบบ PCI BUS ประกอบด้วย Chip Set ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะพาน (Bridge) เชื่อมระห่างโปรเซสเซอร์กับ PCI Expansion Slot ซึ่ง ชิปเซตนี้ประกอบด้วยชิปเซต 2 ตัว ได้แก่ (1) North Bridge ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อและประสานงานการสื่อสารระหว่างโปรเซสเซอร์กับหน่วยความจำต่าง ๆ รวมทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อกันกับชิปเซตอีกตัวหนึ่ง (2) South Bridge เป็นตัวที่ดูแลเกี่ยวกับ I/O ต่าง ๆ
    1. อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ PCI BUS จะใช้เวลาการเข้าถึง Access ต่ำ (Low Latency) ลดเวลาจากการที่อุปกรณ์ PCI ต้องรอคอยเพื่อให้ได้มาของสิทธิ์ที่จะเข้าสู่การทำงานในระบบ หลังจากที่ส่งสัญญาณที่เป็นคำขอออกไปเรียบร้อยแล้ว

  • AGP BUS (Accelerated Graphics Port)
เป็นการ์ดที่พัฒนาต่อจากบัส PCI ซึ่งกำหนดไว้ที่ความเร็วเทียบเท่ากับบัสของโปรเซสเซอร์หรือสองเท่าของบัส PCI ปกติ ซึ่งตอนเริ่มต้นก็คือ 66 MHz ทำให้ได้อัตราการรับส่งข้อมูลสูงถึง 266 MB/sec (66 x 4 ไบต์) และต่อมาได้มีมาตรฐานของ AGP 2x และ AGP 4x ซึ่งทำงานไ ด้รวดเร็วยิ่งขึ้นไปอีกเป็น 533 และ 1066MB/sec ตามลำดับ
บัสนี้ได้รับการออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากที่สุดด้วยความเร็วสูงสุด
  • USB (Universal Serial Bus)

  • USB มาจากคำว่า Universal Serial Bus เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ I/O ภายนอกแบบใหม่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีจุดเด่นดังนี้
  1. ใช้งานง่าย
  2. ราคาถูก
  3. สามารถจัด Configuration ได้ง่าย
  4. มีความเร็วสูง
USB สนับสนุนความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล 12 MB/s ลักษณะของข้อมูลก็สามารถเป็นไปได้ทั้งรูปแบบการถ่ายเทข้อมูลในลักษณะกระแส และในรูปแบบของ Packet (Packet ในที่นี้หมายถึงลักษณะรูปแบบข้อมูลที่มีแบบแผนตายตัว เรียกว่า Frame ที่ประกอบด้วย ส่วนหัว ส่วนข้อมูลและ ส่วนหาง ที่ใช้ตรวจสอบความผิดผลาดของข้อมูล)
การที่ USB มีการสนับสนุนการส่งถ่ายข้อมูลหลายรูปแบบดังกล่าวจึงทำให้ USB สามารถรองรับอุปกรณ์ I/O ได้หลากหลาย เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์เชื่อมต่อ ISDN นอกจากนี้ USB ยังยอมให้มีการเชื่อมต่อแบบ Hot Plug ซึ่งในที่นี้หมายถึงเราสามารถติดต ั้งอุปกรณ์ I/O ได้ทันทีโดยไม่ต้องปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เลย
  1. ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลของ USB
USB มีรูปแบบความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลได้ 2 แบบดังนี้
(1) ความเร็ว 12 MB/sec ได้แก่อุปกรณ์ความเร็วสูง เช่น Zip Drive,Scanner และ Printer
(2) ความเร็ว 1.5 MB/sec ได้แก่อุปกรณ์ความเร็วต่ำ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และจอยสติ๊ก
6. ส่วนประกอบของ USB
ส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของ USB ทั้งทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประกอบด้วย
  1. USB ฮาร์ดแวร์
    1. USB Controller /Root Hub
    2. USB Hubs
    3. อุปกรณ์ USB
  2. USB Software
    1. USB Device Drivers
    2. USB Driver
Host Controller Driver
Controller /Root Hub
การสื่อสารข้อมูลทั้งหมดบนระบบ USB เริ่มมาจาก Host ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดซึ่งทำงานภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ซึ่ง Host นี้ประกอบไปด้วย USB Host Controller ซึ่งเป็นระบบควบคุมที่ทำให้เกิดการถ่ายเทข้อมูลบน USB Bus นอกจากนี้ก็มี Root Hub ซึ ่งเป็น Port ซึ่งใช้เป็นที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ USB บนเมนบอร์ด ซึ่งจะมีชิปที่ทำหน้าที่เป็น USB Host Controller ดังนี้
  1. Open Host Controller (OHC) ได้แก่ เบอร์ 8×931
  2. Universal Host Controller (UHC) ได้แก่ เบอร์ 80×930
Host Controller
Host Controller มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลการขนถ่ายข้อมูลที่ถูกกำหนดโดยซอฟต์แวร์ของ Host Controller Driver หรือ HCD ซอฟต์แวร์จะจัดสร้างรายการที่ใช้เชื่อมโยงกับชุดของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ในหน่วยความจำที่ได้กำหนดเรียบร้อยแล้วว่าจะมีการถ่ายเทกั นเกิดขึ้นเมื่อใด โครงสร้างของข้อมูลนี้เราเรียกว่า Transfer Descriptor ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นสำหรับ Host Controller ในอันที่จะทำให้เกิดการถ่ายเทข้อมูลขั้น ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวประกอบไปด้วย
  1. ตำแหน่ง Address หรือที่อยู่ของอุปกรณ์ USB
  2. ชนิดของการถ่ายเทข้อมูลว่าเป็นแบบใด
  3. ทิศทางการไหลของข้อมูลข่าวสารว่าจะไหลจากไหนไปไหน
  4. ตำแหน่ง Address ของ Memory Buffer สำหรับ Device Driver
เมื่อ Host Controller จะส่งข้อมูลไปที่อุปกรณ์ USB ปลายทาง ก็ทำได้โดยการอ่านข้อมูลจาก Memory Buffer ซึ่ง USB Device Driver เป็นผู้จัดสรรให้ ที่ซึ่งข้อมูลจะถูกจัดส่งไปที่อุปกรณ์ปลายทาง โดย Host Controller จะทำหน้าที่เป็นผู้แปลงข้อมูลจากขนานไปเป็นแบบอ นุกรม จากนั้นก็จัดให้มีการถ่ายเทข้อมูลโดยส่งออกไปที่ Root Hub เพื่อส่งต่อไปที่บัส
ในกรณีที่ต้องการจะอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ USB ตัว Host Controller จะสร้างสภาวะการติดต่อเพื่ออ่านข้อมูลขึ้น จากนั้นก็จะส่งคำขอการอ่านข้อมูลไปที่ Root Hub ซึ่ง Root Hub ก็จะส่งผ่านการขออ่านนี้ไปบน USB Bus
ดังนั้นอุปกรณ์ปลายทางจะรู้ตัวว่าตัวเองกำหลังถู กเรียกใช้งานและได้รับการ้องขอให้ปลอดปล่อยข้อมูลออกมา อุปกรณ์ปลายทางนี้ก็จะปล่อยข้อมูลตามที่ต้องการไปที่ Root Hub ซึ่งก็จะส่งต่อข้อมูลนี้ไปที่ Host Controller อีกที่หนึ่ง จากนั้น Host Controller ก็จะนำข้อมูลที่ได้รับมาเป็นแบบอนุกรรมนี้มาทำการแปลงให้เป็น ขนาน จากนั้นก็จะนำไปเก็บไว้ที่ Memory Buffer ของ Device Driver อีกทีหนึ่ง
Root Hub
การติดต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นโดย Host Controller จะถูกส่งต่อไปที่ Root Hub เพื่อให้ส่งต่อไปที่ USB Bus ซึ่งเป็นที่ ๆ อุปกรณ์ USB ได้เชื่อมต่อกับตัว Root Hub ซึ่งจัดได้ว่าเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับอุปกรณ์ USB และมีหน้าที่ทำงานหลักดัง นี้
  1. ควบคุมการเชื่อมต่อที่ USB Port
  2. ทำหน้าที Enable/Disable Port (ทำให้ Port ทำงานหรือไม่ทำงาน)
  3. ทำหน้าที่ตรวจสอบดูว่าแตะละ Port ของ Root Hub ติดตั้งอุปกรณ์อะไรบ้าง
  4. สามารถจัดตั้งหรือรายงานสถานะของแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะทำงานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Port ต่าง ๆ
USB Hubs
นอกเหนือจาก Root Hub แล้ว ระบบ USB ยังสนับสนุน Hub อีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นส่วนขยายของระบบ USB จุดประสงค์เพื่อขยายขนาดการเชื่อมต่อเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ USB ได้มากยิ่งขึ้น ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นแบบพ่วง Hub กันไปเรื่อย ๆ Hub ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับ Root Hub นี้มีไว้เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ USB ต่าง ๆ เช่นคีย์บอร์ดหรือจอภาพ ยิ่งไปกว่านั้น Hub เหล่านี้สามารถมีแหล่งจ่ายไฟเป็นของตนเองเป็นการเฉพาะ หรือจะใช้แรงดันไฟจากสาย USB ก็ได้ การจ่ายไฟให้กับ Hub เหล่านี้โดยผ่านทางสาย USB จะมีข้อจำกัดปริมาณของกำลังงานที่จ่ายออกมาที่ Bus และ ด้วยกำลังที่จ่ายออกมาที่ Bus นี้เองทำให้เกิดข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้งได้เกิน 4 USB Port ส่วนประกอบของ Hub มี 2 แบบดังนี้
1. Hub Controller
ประกอบไปด้วย USB Interface ซึ่งเป็นแผงควบคุมภายใน Hub บางทีจะเรียกว่า Serial Interface Engine (SIE) ซึ่งแผงควบคุมนี้จะติดตั้ง Firmware ซึ่งเป็นอุปกรณ์หน่วยความจำประเภท EEPROM ที่สามารถโปรแกรมได้ ภายในหน่วยความจำประกอบด้วยข้อมูลข่าวสารเรียกว่า Descri ptor ที่มีไว้เพื่อใช้ซอฟต์แวร์อ่านเพื่อพิสูจน์ความมีตัวตนของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Port ของ Hub นอกจากนี้ Hub Controller ยังรวบรวมเอาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานะของ Hub และ Port ซึ่งซอฟต์แวร์ของ USB Host นำไปใช้เพื่อตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อหรือไ ด้ถอดออกไปจาก Port ของ Hub แล้ว รวมทั้งตรวจสอบดูสถานะการทำงานของ Hub นอกจากนี้ Hub Controller ยังรับเอาคำสั่งจากซอฟต์แวร์ของ Host เพื่อควบคุมการทำงานของ Hub ได้อีกด้วย
2. Hub Repeater
ข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บน USB Bus จะต้องวิ่งไปข้างหน้า ไม่ว่าจะวิ่งไปตามกระแสจากล่างขึ้นบน(วิ่งจากอุปกรณ์ไปยัง Host) หรือวิ่งไปตามกระแสลงข้างล่าง (วิ่งจาก Host มายังอุปกรณ์ USB) โดยที่การส่งกระจายข้อมูลจาก Host จะต้องวิ่งไปที่ Root Port ของ Hub และ จะวิ่งไปยัง Port ทั้งหมดของ Hub ที่ยังทำงานอยู่ เมื่ออุปกรณ์ USB ปลายทางได้รับการติดต่อจาก Host แล้ว จะส่งข่าวสารที่เป็นการตอบสนอง วิ่งเป็นกระแสขึ้นบนกลับมาที่ Host โดยที่ Hub จะส่งต่อไปที่ Port ของ USB ที่เชื่อมต่อกับ Root Hub(เรียกว่า Downstream Port) เพื่อส่งต่อไปที่ Root Hub จากนั้น Root Hub ก็จะส่งต่อไปที่ Host อีกทีหนึ่ง
  1. 6.               ชนิดของการถ่ายเทข้อมูลบน USB
USB สามารถตอบสนองความต้องการที่จะส่งถ่ายข้อมูลหลากหลายชนิดจากแอพพลิเคชัน ซึ่งในระบบ USB สามารถมีระบบการถ่ายเทข้อมูลได้ 4 แบบ ดังนี้
  1. Interrupt Transfer-Interrupt Transfer
  2. Bulk Transfer-Bulk Transfer
  3. Isochronous Transfer
  4. Control Transfer-Control Transfer                                                                                                                  
1 Connector
อุปกรณ์รอบข้างแบบ USB จะต้องมีการเชื่อมต่อกับช่องเสียบด้วยสัญญาณหาก Connector ที่ปลายทั้งสองด้านของสาย USB เป็นแบบเดียวกัน ก็แสดงว่ามีการเชื่อมต่อสายระหว่างช่องเสียบ USB มาตรฐาน USB ซึ่งได้ออกแบบ Connector เพื่อใช้งานอยู่ 2 แบบ
(1) Series A Connector เป็น Connector เพื่อการเชื่อมต่อระหว่าง USB Port กับสายเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral)
(2) Series B Connector ถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์รอบข้าง
แสดงลักษณะของ USB Port ที่ด้านหลังของคอมพิวเตอร์
2 สายของ USB
มาตรฐานของ USB ได้กำหนดอัตราความเร็วสูงสุดสำหรับช่องทาง USB ไว้ที่ 12 MB/s ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดและช่องทางย่อยที่ความเร็ว 1.5 MB/s สายสัญญาณที่ใช้เพื่อการถ่ายเทที่ความเร็วสูงสุดจะต้องถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อป้องกันสัญญาณรับกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขณะ ที่สายสัญญาณที่ใช้เพื่อการส่งข้อมูลความเร็วต่ำถูกนำมาใช้กับการเชื่อมอุปกรณ์ความเร็วต่ำ เช่น เมาส์และคีย์บอร์ด
(1) สายสัญญาณสำหรับส่งถ่ายข้อมูลความเร็วต่ำ สายสัญญาณชนิดนี้จะส่งผ่านข้อมูลต่ำที่ความเร็ว 1.5 MB/s ถูกนำมาใช้งานที่ไม่ต้องการแบนด์วิดธ์หรือช่องสัญญาณกว้าง และความยาวของสายสัญญาณจะต้องไม่เกิน 3 เมตร ขนาดของเส้นลวดคือ 28 AWG
(2) สายสัญญาณสำหรับส่งถ่ายข้อมูลความเร็วสูง สายสัญญาณประเภทนี้เป็นสายตีเกลียวประเภท Shieled Twisted Pair หรือ สายตีเกลียวที่ห่อหุ้มด้วยสื่อที่ป้องกันสัญญาณรบกวน รวมทั้งสายแบบธรรมดา สายสัญญาณประเภทนี้มีระยะทางสูงสุดไม่เกิน 5 เมตร อีกทั้งมี Propagation Delay ไม่เกิน 30 ns เมื่อทำงานที่ความถี่ตั้งแต่ 1-16 MHz

ที่มา:http://www.vcharkarn.com/vblog/33315/2

ระบบ Bus คืออะไร มีกี่ประเภท

ระบบ Bus มี 3 ประเภท คือ
บัสข้อมูล (DATA BUS) เป็นบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ใช้เป็นเส้นทางผ่านในการควบคมุการส่งถ่ายข้อมูลจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไปยังอุปกรณ์อุปกรณ์ภายนอกหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก เพื่อทำการประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
บัสรองรับข้อมูล (ADDRESS BUS คือบัสที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใด โดยจะต้องส่งสัญญาณเลือกออกมาทาง ADDRESS BUS
บัสควบคุม (CONTROL BUS) เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไป จากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของSoftware

หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
 มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista
Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก

ที่มา http://www.google.co.th/imgres?um=1&sa=N&hl=th&biw=1440&bih=799&tbm=isch&tbnid=bGWjI0AiQyLNRM:&imgrefurl=http://www.tuadi.com/type-of-software-version/&docid=Vah0o7_bmSsG-M&imgurl=http://www.tuadi.com/wp-content/uploads/2012/09/Software.jpg&w=336&h=336&ei=GrYNUoqjO4-SiAf0ooHoAQ&zoom=1&ved=1t:3588,r:13,s:0,i:117&iact=rc&page=1&tbnh=173&tbnw=178&start=0&ndsp=24&tx=136&ty=94

ความหมายของ Hardware

หมายถึง  อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน 
  
            1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่ 
                    1.1 Power Supply 
                    1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่ 
                                1.2.1 CPU 
                                1.2.2 RAM 
                                1.2.3 Expansion Slots 
                                1.2.4 Ports 
                    1.3 Hard Disk 
                    1.4 Floppy Disk Drive 
                    1.5 CD-ROM Drive 
                    1.6 DVD-ROM Drive 
                    1.7 Sound Card 
                    1.8 Network Card 
            2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่ 
                    2.1 Keyboard 
                    2.2 Monitor 
                    2.3 Mouse 
                    2.4 Printer 
                    2.5 Scanner 
                    2.6 Digital Camera 
                    2.7 Modem 
                    2.8 UPS
ที่มา http://www.google.co.th/imgres?um=1&sa=N&biw=1440&bih=799&hl=th&tbm=isch&tbnid=zIu4cvKWdI_z4M:&imgrefurl=http://www.easytechtips24.com/what-is-computer-hardware-mean/&docid=pt3SjAgcu2jGJM&imgurl=http://www.easytechtips24.com/wp-content/uploads/2013/03/example-of-computer-hardware.jpg&w=876&h=607&ei=erUNUsbNE-WCiQf-koDIDw&zoom=1&ved=1t:3588,r:7,s:0,i:106&iact=rc&page=1&tbnh=174&tbnw=251&start=0&ndsp=25&tx=162&ty=98

ความหมายของCPU

หมายถึง หัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์

ที่มา http://www.google.co.th/imgres?um=1&sa=N&hl=th&biw=1440&bih=799&tbm=isch&tbnid=MCdbCW82vS-4NM:&imgrefurl=http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/cpu.html&docid=lNDtsKnKvHxt1M&imgurl=http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/computer/cpu/cpu1.jpg&w=280&h=209&ei=yrQNUtXHDOzxiAf9qICoCg&zoom=1&ved=1t:3588,r:1,s:0,i:81&iact=rc&page=1&tbnh=167&tbnw=224&start=0&ndsp=24&tx=149&ty=100

ความหมายของคอมพิวเตอร์

หมายถึง  เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า  เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล  ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง  เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล  จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิดเลข  เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. ความเร็ว  (Speed)  เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูงมาก  ซึ่งหน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
     - มิลลิเซกัน (Millisecond)      ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที  หรือ ของวินาที
     - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที    หรือของวินาที
     - นาโนเซกัน (Nanosecond)    ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที  หรือของวินาที
 ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค  ซึ่งได้มีการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล ได้เร็วในเวลาไม่เกิน 1 วินาที  จะทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนำมาเป็นเครื่องมือใช้งานอย่างดียิ่ง
2. หน่วยความจำ (Memory)  เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจำ  ซึ่งสามารถใช้บันทึกและเก็บ
 ข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคำสั่ง (Instructions) ต่อๆกันได้ที่เราเรียกว่าโปรแกรม แลนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น    การสำรวจสำมะโนประชากร  หรือรายงานผลการเลือกตั้งซึ่งทำให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง   จากการที่หน่วยความจำสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ  คือสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ   ในกรณีที่มีงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำและประหยัดเนื่องจากการเขียนคำสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทำงานซ้ำๆได้คราวละจำนวนมากๆ
3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical)  ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถในการคำนวณแล้วยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบซึ่งความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ทีทำให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง เช่นการจัดเรียงข้อมูลจำเป็นต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทำงานซ้ำๆตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในกิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงานจากคอมพิวเตอร์แทนแรงงานจากมนุษย์ทำให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยำ เป็นการผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก

2.ยุคของคอมพิวเตอร์

3.ชนิดของคอมพิวเตอร์

4.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

5.ส่วนประกอบและหน้าที่ของคอมพิวเตอร์

ที่มา http://www.google.co.th/imgres?um=1&sa=N&biw=1440&bih=799&hl=th&tbm=isch&tbnid=2Js4c21Yy-dHVM:&imgrefurl=http://www.wisegeek.org/what-is-a-computer-tower.htm&docid=WVRGAsPMT8WSXM&imgurl=http://images.wisegeek.com/black-desktop-computer.jpg&w=1000&h=714&ei=cbMNUsn5F5KbiQeSh4HIAg&zoom=1&ved=1t:3588,r:1,s:0,i:88&iact=rc&page=1&tbnh=181&tbnw=266&start=0&ndsp=18&tx=101&ty=92